โรคปวดหลัง เกิดกับทุกวัย ป้องกันง่ายแค่สวมใส่ไม่ต้องกิน

          อาการปวดหลังมักเกิดขึ้นกับหลังส่วนล่าง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ แต่ก็อาจเรื้อรังเป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ คนส่วนใหญ่จะเคยมีอาการปวดหลังในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต

ข้อมูลเกี่ยวกับการปวดหลัง

     อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้ง่าย โดยพบว่าประมาณ 4 ใน 5 คน จะเคยมีอาการปวดหลังในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิต อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัยแต่มักจะพบได้บ่อยในช่วงอายุ 35-55 ปี หรือมากกว่า

          หลังของคนเรานั้นจะมีโครงสร้างเชื่อมต่อกันมากมาย ได้แก่ กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูก โดยมีโครงสร้างหลักที่ค้ำยัน คือ กระดูกสันหลัง (vertebrae) ซึ่งประกอบด้วยกระดูก 24 ท่อนเชื่อมกัน รวมไปถึงกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) และส่วนก้นกบ (coccyx) กระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีหมอนรองกระดูก ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการกระเทือนหรือช่วยรับแรงกระแทกและช่วยให้กระดูกสันหลังของคนเรานั้นสามารถโค้งงอได้ กระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีช่องว่างตรงกลางต่อกันเป็นแนวยาวเพื่อให้เป็นช่องทางเดินของเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งทำหน้าที่นำกระแสประสาทจากสมองไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

          สาเหตุการปวดหลังที่แท้จริงอาจไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากเหตุใด แต่มักเกี่ยวข้องกับการทำงานที่ทำให้ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งหดเกร็งมากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะตึงหรือเครียด(strain) มากกว่าจะมีสาเหตุจากเส้นประสาท

ลักษณะอาการของการปวดหลัง

          หากคุณมีอาการปวดหลังส่วนล่าง(low back pain) ซึ่งอาจทำให้รู้สึกตึง ปวดหรือเมื่อยล้า อาการเจ็บปวดดังกล่าวจะเป็นอาการปวดหลังแบบธรรมดาหรือปวดหลังแบบไม่จำเพาะ (non-specific back pain)  ซึ่งมักจะหายได้เองภายในเวลา 2-3 วัน

          อาการปวดหลังเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลัน (acute) และเรื้อรัง (chronic) ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นว่ามีอาการมานานเพียงใด ซึ่งแยกได้ดังนี้

·       
อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (acute back pain) จะมีอาการไม่เกิน 6 สัปดาห์
·       
อาการปวดหลังแบบกึ่งเฉียบพลัน ( sub-acute back pain) จะมีอาการระหว่าง 6 สัปดาห์ – 3 เดือน
·       
อาการปวดหลังแบบเรื้อรัง (chronic back pain) จะมีอาการมากกว่า 3 เดือน

สาเหตุของการปวดหลัง 

·       
การยืน นั่งหรืองอหลังเป็นเวลานานๆ
·       
การยก แบก ดันหรือดึงสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไปหรือใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
·       
นั่งรถเป็นเวลานาน หกล้มหรือตกจากที่สูง
·       
มีภาวะเครียดหรือวิตกกังวล
·       
มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน
·       
นั่งหรือยืนในท่าที่ไม่ถูกต้อง

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรง ซึ่งพบได้น้อยมาก เช่น

·       
มีการแตกร้าวของกระดูกบริเวณหลัง

·    
ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) เป็นภาวะที่มีความหนาแน่นของกระดูกลดลงอย่างมาก ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและมีแนวโน้มที่จะเกิดการแตกร้าวได้ง่าย

·       
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (a slipped disc) เกิดขึ้นเมื่อหมอนรองกระดูกปูดหรือเคลื่อนตัวออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง

·       
โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (spinal stenosis) เกิดจากช่องว่างของกระดูกสันหลังแคบลง

·       
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (spondylolisthesis) เกิดจากกระดูกสันหลังเลื่อนไปด้านหน้าและเคลื่อนออกจากตำแหน่ง

·       
โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (degenerative disc disease) เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมลง

·       
โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) เกิดจากข้อต่อกระดูกสันหลังฉีกขาดจากภาวะความเสื่อมตามเวลาที่ถูกใช้งาน

·    
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เป็นภาวะอักเสบของข้อต่อและบริเวณโดยรอบ อันเกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายที่ผิดปกติ

การวินิจฉัยการปวดหลัง
       
·        X-ray
·        CT scan
เป็นวิธีตรวจที่ใช้การถ่ายภาพรังสีด้วยระบบคอมพิวเตอร์
·        MRI scan
เป็นวิธีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
·       
การตรวจเลือด วิธีการนี้ใช้สำหรับต้องการตรวจหาสาเหตุของการปวดหลังที่มีความจำเพาะเจาะจงเป็นพิเศษ

การรักษาอาการปวดหลัง 

การดูแลรักษาด้วยตัวเอง

·    
หากิจกรรมที่ต้องออกแรงอย่างเหมาะสมทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ดีกว่าใช้เวลานอนพักเพราะการนอนพักอยู่บนเตียงเฉยๆ จะยิ่งทำให้อาการปวดหลังแย่ลง

·    
ประคบร้อนหรือเย็นบริเวณที่ปวดหลัง โดยอาจหาซื้อแผ่นประคบได้จากร้านขายยา หรืออาจจะนำถุงน้ำแข็งหรือถุงถั่วแช่แข็งห่อด้วยผ้าอีกหนึ่งชั้นแล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวดได้ โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำแข็งนั้นสัมผัสกับผิวโดยตรงเพื่อป้องกันผิวบริเวณนั้นถูกทำลาย

การรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการรักษาและพัฒนาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยจัดรูปแบบวิธีการรักษาด้วยวิธีการออกกำลังกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

แพทย์อาจจะส่งตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัดด้านต่างๆ เช่น การรักษาด้วยนักกายภาพบำบัด (physiotherapy) การจัดกระดูก (chiropractic)หรือการจัดกระดูกและเส้นเอ็น (osteopathy) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของการแพทย์ทางเลือก

การผ่าตัด (Surgery)

การผ่าตัดอาจจะมีความจำเป็นหากพบว่าอาการปวดหลังเกิดจากสาเหตุที่จำเพาะเจาะจงที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
           
การป้องกันอาการปวดหลัง 
·       
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินหรือว่ายน้ำเป็นประจำ
·       
พยายามหลีกเลี่ยงภาวะเครียดต่างๆ
·       
รักษาหลังให้ตรงอยู่เสมอ พยายามใช้ข้อเข่าและสะโพกแทนการงอหลัง
·       
รักษาท่าทางให้ถูกต้องเหมาะสมอยู่เสมอ โดยเฉพาะหลัง อย่าให้อยู่ในท่าโค้งงอ

Tel.08-9886-9887

E-mail suriya8success@gmail.com